วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สโตแคสติกส์ STOCHASTICS

STOCHASTICS คือ ดัชนีวัดการแกว่งตัวของราคาที่ศึกษาความสัมพันธ์ การเคลื่อนไหวของราคาในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ กับราคาปิด โดยมาจากข้อสังเกตที่ว่า ถ้าการสูงขึ้นของราคาหุ้นนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อไป ราคาปิดของหุ้นนั้นจะอยู่ใกล้กับราคาสูงสุด แต่ถ้าราคาของหุ้นมีแนวโน้มลดต่ำลง ราคาปิดจะอยู่ในระดับเดียวกับราคาต่ำสุดของวัน

ถ้าราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก “ขึ้น” เป็น “ลง” เรามักจะพบว่าราคาในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายอาจจะสูงขึ้น แต่ราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดของวัน แต่หากราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก “ลง” เป็น “ขึ้น” ราคาปิดจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของวัน แม้ว่าในระหว่างชั่วโมงซื้อขายราคาอาจจะลดต่ำลง

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง / แยกทาง MOVING AVERAGES CONVERGENCE/ DIVERGENCE (MACD)

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง / แยกทาง MOVING AVERAGES CONVERGENCE/ DIVERGENCE (MACD)
เครื่องมือที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิค ในปัจจุบันนั้นมีอยู่มากมายหลายวิธี แต่ละวิธีจะให้สัญญาณซื้อขายที่ถูกต้อง ชัดเจน ในสภาพตลาดที่แตกต่างกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เครื่องมือที่เหมาะสำหรับดูวงจรหุ้นในระยะสั้น - ปานกลาง (4-6 อาทิตย์) ที่ราคาหุ้นมีการเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงกว้าง ๆ คือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ร่วมทาง - แยกทาง (MACD)

            MACD เป็นเครื่องมือวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคที่สร้างขึ้น และพัฒนาโดย GERALD APPEL ในปี ค.ศ.1979 ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับราคา (TREND FOLLOWING) สามารถใช้วัดระดับ (DEGREE) ตลาดว่าเป็นตลาด BULL หรือตลาด BEAR

เครื่องมือดัชนีกำลังสัมพัทธ์ RELATIVE STRENGTH INDEX (RSI)

เครื่องมือดัชนีกำลังสัมพัทธ์ RSI : RELATIVE STRENGTH INDEX
RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ 14 RSI

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (RSI) คือ การคำนวณหาพละกำลัง ที่ซ่อนตัวอยู่ของตลาดหรือของหุ้นใดหุ้นหนึ่ง (INTERNAL STRENGTH) โดยดูจากอัตราส่วนที่ “แกว่ง” ไปมาอยู่ระหว่างการขึ้นลงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และภายใน “เวลา” ที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลา 14 วัน เราจึงเรียกว่า 14 RSI

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องมือพาราโบลิก PARABOLIC SAR

    ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มวิจารณ์ว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS) ขาดความน่าเชื่อถือ คือ ความล่าช้าเนื่องจากเวลา (TIME LAG) เพราะการเคลื่อนที่ของเครื่องมือเทคนิคชนิดต่าง ๆ จะตามหลังราคาหรือดัชนีเสมอ ดังนั้นแนวโน้มที่ได้จึงไม่น่าเชื่อถือ เพราะเกิดจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งนาย J. WELLES WILDER ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างเครื่องมือเทคนิคตัวใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า พาราโบลิก (PARABOLIC) เพื่อลดความล้าหลังของการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยการเพิ่มความเร่งของสัญญาณของแนวโน้ม เมื่อราคาสามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ โดยพิจารณาให้ความสำคัญเรื่องราคาและเวลาเป็นหลัก และสัญญาณที่ได้เรียกว่า จุดเปลี่ยนแนวโน้ม หรือ STOP AND REVERSAL (SAR) และด้วยเหตุที่ SAR

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ โบลินเจอร์ แบนด์ BOLLINGER BANDS

BOLLINGER BANDS เป็นเครื่องมือการวิเคราะห์หุ้นชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจาก เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ (MOVING AVERAGE ENVELOPES) โดยนาย จอห์น โบลินเจอร์ (JOHN BOLLINGER) เนื่องจากเขาได้ศึกษาแนวคิดของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบล้อมกรอบ แล้วพบว่าแนวคิดนี้มีจุดอ่อนคือ

          1. ในสถานะภาพของตลาดที่แตกต่างกัน ควรใช้ช่วงห่างของช่องการซื้อขาย (TRADING BANDS) ที่แตกต่างกัน
          2. ช่วงเวลาที่ต่างกัน เช่น ชั่วโมง วัน สัปดาห์ ฯลฯ ควรใช้ระยะห่างของช่องการซื้อ ขาย (TRADING BANDS) ที่แตกต่างกัน แม้จะใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อติดตามลักษณะการเคลื่อนไหวของราคา และสถานะ ณ จุดนั้น ๆ

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Triple Exponential Moving Average (T3)

T3 พัฒนาโดย Tim Tillson มันคือการรวมกัน ของ DEMA และ EMA

ที่กำหนดปริมาณ แทนด้วย V ค่าเริ่มต้น เท่ากับ 0.7
DEMA ค่าเริ่มต้น เท่ากับ 0
EMA ค่าเริ่มต้น เท่ากับ 1

GD(N,v) = (1-v)*EMA[N] + v*DEMA[N]

หรือเท่ากับปัจจุบันระยะโมเมนตัมใน DEMA ที่จะใช้

GD(N,v) = EMA[N] + v * (EMA[N] - EMAofEMA[N])
T3 ใช้สามครั้ง

T3(N,v) = GD(N,v) of GD(N,v) of GD(N,v)

ตัวอย่าง

N = 10 และ v = 0.7

ถ้าลด v = 0 T3 เป็น EMA
V = 1 T3 เป็น DEMA

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Mesa Adaptive Moving Average (MAMA)

Mesa adaptive moving average (MAMA)พัฒนาโดย โดย John F. Ehlers เป็นวิธีการปรับไปใช้ในการเคลื่อนไหวของราคาและวิธีการใหม่ที่ไม่ซ้ำกัน ข้อดีของวิธีของการปรับตัวนี้คือมันมีคุณสมบัติแสดงสัญญาณที่รวดเร็วนั้น หมายถึง ระยะเวลาที่คงที่ แต่เป็นระยะสั้น ตามมูลค่าราคา

MAMA คำนวณจาก Exponential Moving Average (EMA) สมการสำหรับ EMA คือ

Ema = a*Price + (1 - a)*Ema
where a is less than 1

EMA ถูกสร้างขึ้นโดยการเศษส่วนของราคาปัจจุบันและการเพิ่มลบเศษส่วนที่เท่าค่าเดิมของ EMA ดังนั้นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ก EMA ปรับตัว คือค่าที่แตกต่างกันไปตามพารามิเตอร์ที่เป็นอิสระ เช่น Kaufman adaptive moving average (KAMA) และ variable index dynamic average (VIDYA) โดย KAMA และ Vidya ใช้รูปแบบในราคาหรือความผันผวนเป็นพื้นฐานของการปรับตัวของมัน



เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Kaufman Adaptive Moving Average (KAMA)

KAMA ได้รับการพัฒนาโดย เพอร์รี เจ Kaufman เป็นค่าเฉลี่ยสไตล์ EMA แต่มีการปรับให้ที่แตกต่างกัน ตรง ข้อมูลล่าสุด

          abs (close[today] - close[N days ago])
ER = --------------------------------------
         Sum abs (close - close[prev])
          past N days

ER คือ ค่าระหว่าง 0.0645 และ 0.666 และจากนั้นยกกำลังสองเพื่อให้ปัจจัยกับอัลฟา สำหรับ EMA ระหว่าง 0.444 และ 0.00416 จะสอดคล้องกับระยะเวลา EMA ที่เร็วมาก คือ 3.5 วัน และจะช้าที่สุดที่ 479.5 วัน


alpha = (ER * 0.6015 + 0.0645) ^ 2
KAMA = alpha * close + (1-alpha) * KAMA[prev]


เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Triangular Moving Average (TMA)

Triangular Moving Average (TMA) มีคุณสมบัติคล้ายกันมากกับเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อื่น ๆ เช่น SMA หรือ EMA ซึ้งมันจะคำนวณค่าเฉลี่ยของราคาในแต่ละช่วงระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม TMA ก็มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อื่น ๆ คือมันสามารถวิเคราะห์ราคาได้เป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อื่น ๆ ที่ดำเนินการเพียงครั้งเดียว นอกจากนี้ TMA ยังสามารถใตรวจสอบว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่มากระทบ เช่น ปริมาณราคา

แสดงสูตรที่แตกต่างกันในการคำนวณ SMA และ TMA
SMA = (P1 + P2 + P3 + P4 + ... + Pn) / n
TMA = (SMA1 + SMA2 + SMA3 + SMA4 + ... SMAn) / n

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Triple Exponential Moving Average (TEMA)

Triple Exponential Moving Average หรือ TEMA ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย นาย Patrick Mulloy ในปี 1994 เขาพบว่า หนึ่งในปัญหาทั่วไปของการซื้อขายกับ EMAS หรือ oscillators มักพบปัญหาของความล่าช้าของ สัญญาณ ในการตัดสินใจซื้อขายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เขาจึงพัฒนา TEMA ขึ้นมาเพื่อจัดการกับปัญหานี้

การคำนวณ

TEMA=(3xEMA)-(3xEMAofEMA)+(EMAof EMAofEMA)

ในการคำนวณมูลค่า TEMA คือการตัดสินใจของตัวบ่งชี้ระยะเวลาที่ ตัวอย่าง เช่น เมื่อเรากำหนดระยะเวลาที่จะ 5 วันตัวบ่งชี้ที่จะคำนวณ EMA เกี่ยวกับข้อมูลราคา หลังจาก 5 วันไปแล้วนั้น ถือว่าใหม่ EMA เป็นกราฟใหม่ของการเคลื่อนไหวของราคา และถือเป็นเวลาสองของ EMA ค่าที่สองนี้ถูกเรียกว่า คู่เวลา ในที่สุดหนึ่งในสามของ DEMA EMA จะถูกคำนวณและค่าที่จะได้รับการแทนค่าในสูตรข้างต้น จากปัญหาความล่าช้าของ TEMA จึงต้องคูณสาม EMA ลบด้วยระยะนี้ใหม่ EMA (EMA of EMA)คูณสามเช่นกัน ถ้าค่า TEMA เป็นบวก แสดงว่า ความผันผวนในขณะเดียวกันจะลดลง

เสันค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ Double Exponentail Moving Average (DEMA)


เป็นการผสมกันระหว่าง Simple Moving Average และ Exponentail Moving Average ซึ่งจะมีความระเอียด และ น้ำหนักในการตัดสินใจมากกว่าเดิม


นักเล่นหุ้น ใช้เสันค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบนี้ ช่วยในการระบุความน่าจะเป็น ในการจะ ซื้อขาย สูงมาก ในหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็พบปัญหาว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ DEMA นั้นมีความล่าช้ามากกว่าทุกประเภทของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ แบบอื่น Double Exponentail Moving Average (DEMA) สามารถแก้ปัญหาได้ โดยการให้มันคำนวณค่าเฉลี่ยด้วยวิธีการที่เร็วขึ้น

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เส้รค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ EXPONENTIAL MOVING AVERAGE (EMA)

วิธีนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา และถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น วิธีนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญของเวลาในการวิเคราะห์ ราคาทุกราคาจะมีผลต่อค่าของ EMA แม้ว่าราคาล่าสุดจะมีความสำคัญมากที่สุดก็ตาม ซึ่งวิธีนี้เป็นการพยายามแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นจากวิธี SMA กล่าวคือ EMA นั้น จะถ่วงน้ำหนักโดยให้ความสำคัญกับวันสุดท้ายมากที่สุด และจะเอาค่าทุก ๆ ค่ามาหาค่าเฉลี่ย โดยจะไม่ทิ้งข้อมูลเก่าที่ผ่านมา ซึ่งจะทำให้ค่าทุกค่าสะท้อนให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคา

ขณะที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวอื่น ๆ ให้ความสำคัญต่อคาบเวลา แต่ EMA จะให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่เรียกว่า SMOOTHING FACTOR (SF) หรือ SMOOTHING CONSTANT โดยที่ SF = 2/(n+1) ซึ่งวิธี

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ WEIGHTED MOVING AVERAGE (WMA)

หุ้น
 วิธีนี้เกิดจากความพยายามในการแก้ปัญหาในเรื่องการถ่วงน้ำหนักจากวิธี SMA โดยให้ความสำคัญกับวันที่ใช้คำนวณวันสุดท้ายมากที่สุด โดยวันถัดไปจะถูกลดความสำคัญลงไปเรื่อย ๆ และความไวของเส้นค่าเฉลี่ยฯ ถ่วงน้ำหนักนี้ มักจะนำหน้าเส้นค่าเฉลี่ยฯอย่างง่าย
                   อย่างไรก็ดี เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักนี้ อธิบายได้เพียงแค่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในช่วงของเวลาที่พิจารณาอยู่เหมือนกับวิธี SMA มิได้ครอบคลุมถึงราคาในช่วงเวลาที่ผ่านมา

      

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ SIMPLE MOVING AVERAGE (SMA)

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย หรือค่าเฉลี่ยเลขคณิต (ARITHMETIC MEAN) นี้ เป็นวิธีที่นักวิเคราะห์ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด ในการหาเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีนี้จะถ่วงน้ำหนักให้ค่าทุกค่าที่นำมาคำนวณมีความสำคัญ (อิทธิพล) ต่อราคาเท่ากันหมด โดยอาศัยหลักการเอาข้อมูลในช่วงเวลาหนึ่งมาหาค่าเฉลี่ยกัน เช่น การหาเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของราคาในช่วงเวลา 10 วัน จะคำนวณโดยรวมราคาหุ้น ณ วันปัจจุบัน (Pt) กับราคาหุ้นของอีก 9 วันก่อนหน้า (Pt-1 ถึง Pt-9) แล้วหารด้วย 10 หลังจากนั้นนำมาจุดบนแผนภูมิแท่ง (BAR CHART) หรือแผนภูมิเส้น (LINE CHART) ให้ตรงกับราคาหุ้นครั้งสุดท้ายแล้วลากเส้นต่อกัน

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MOVING AVERAGE (MA)

มาร์เก็ตติวา

เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่ใช้กันแพร่หลายวิธีหนึ่ง เนื่องจากใช้ได้ง่ายและสามารถนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือทางเทคนิคต่าง ๆ ได้อีกด้วย นอกจากนั้น เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (MOVING AVERAGE) ยังสามารถให้สัญญาณที่ไม่คลุมเครือซึ่งต่างจากเครื่องมือทางเทคนิคอื่น ๆ เช่น การวิเคราะห์รูปแบบของราคา (PRICE PATTERN) ที่มีความไม่แน่นอนสูง

หลักการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบพื้นฐาน ทำได้โดยนำราคาของวันปัจจุบันและวันก่อนหน้านี้มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ต้องการเฉลี่ยทั้งหมด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเส้นค่าเฉลี่ยนั้นว่า จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มในระยะสั้น กลาง หรือระยะยาว และสำหรับวันถัดไปสามารถหาค่าเฉลี่ยได้ โดยตัดข้อมูลวันแรกสุดออกไป และเอาราคาของวันล่าสุดเข้ามาแทนที่ จากนั้นก็นำมาคำนวณโดยวิธีเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สรุป Indicators

Indicators บอกแนวโน้ม
           1.Moving Average
           2.MACD
           3.Directional Movement Index
Indicators บอกความแข็งแกร่งของแนวโน้ม
           1.Directional Movement Index
           2.Bolinger Band
           3.เครื่องมือบอกความแข็งแกร่งของตัวหุ้น
           4.RSI
           5.Directional Movement Index
Indicator ที่บอก Over Sold / Over Bought
        1.Moving Average
        2.MACD
        3.RSI

Indicators ของ Marketiva

Indicator คือ ตัวชี้วัดต่างๆไม่ว่าจะเป็น Over Sold, Over Bought, สัญญานการเข้าซื้อ, สัญญานการขาย ซึ่งแต่ละ Indicators ก็มีวิธีใช้ที่แตกต่างกันไปและมีเทคนิคการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันไปตามหน้าที่ของมัน ก็แล้วแต่ใครจะนำไปใช้
 มาดูกันว่าIndicators ที่ทาง Programs ให้มานั้นมีตัวไหนบ้าง และใช้ทำอะไร  เริ่มกันเลย
•Trend Line : เอาไว้ดูเส้นแนวโน้ม
•Text Labal : เอาไว้เขียนข้อความบนกราฟได้
•Price Pointer : เอาไว้บอกราคาในกราฟ เพราะกราฟดูยากว่า ตรงเส้นไหน ราคาเท่าไหร่
•Symbol : เอาไว้ Mark ที่เราสนใจ

คำแนะนำในการเล่นหุ้น


กราฟหุ้น
 ปัจจุบัน วิธีการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักวิเคราะห์ สามารถแบ่งออก
ได้เป็น 2 แนวทางหลัก ได้แก่
1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (FUNDAMENTAL ANALYSIS)
2. การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS)
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ การเมืองทั้งในระดับระหว่างประเทศและภายในประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ภาวะของแต่ละอุตสาหกรรม และผลการดำเนินงานในแต่ละบริษัท เพื่อนำมาใช้ในการประเมินหาราคาของหลักทรัพย์ที่เหมาะสม สำหรับการลงทุน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในระยะกลางและระยะยาว
สำหรับการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคนั้น เป็นแนวทางที่อาศัยการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา และปริมาณการซื้อขายของหลักทรัพย์ในอดีตที่ผ่านมา เพื่อคาดการณ์ถึงแนวโน้มของราคา รวมถึงระดับราคาที่ควรจะซื้อหรือขาย ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

โปรแกรม MT4

โปรแกรม MT4
สุดยอดโปรแกรมวิเคราะห์หุ้น ดาวน์โหลด ฟรี ! ใว้ดูสัญญาณแนวโน้มราคา ว่าจะซื้อ หรือ จะขาย มาทำความเข้าใจอย่างละเอียดกับ โปรแกรม MT4 กันเลย ก่อนอื่น ดาวน์โหลด MT4 และฝึกหัดใช้เทคนิคพิเศษ ต่าง ๆ ใน MT4 นั่นก็คือเทคนิคในการเข้าใจธรรมชาติของกราฟนั่นเองครับ

MetaTrader4 โปรแกรมเก่าแก่มาก ที่มีการพัฒนาด้านเทคนิคต่เนื่อง กันมายาวนานมีการพัฒนา Indicator ไหม่ ๆ มามากมาย เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ทางเทคนิคเราสามารถ ใช้โปรแกรมนี้ เพื่อเป็น Signal หรือ ตัววิเคราะห์การซื้อขายได้ MT4 สามารถใช้คู่กับ Marketiva ได้ โดยใช้ Marketiva เป็นตัว Trade ใช้ตัว MT4 เป็นตัววิเคราะห์นั้นเอง
หลังจาก download โปรแกรมมาแล้ว set up ลงเครื่องได้เลยโดยขั้นตอนจะมีดังนี้ขั้นแรก จะให้เลือก