วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เครื่องมือดัชนีกำลังสัมพัทธ์ RELATIVE STRENGTH INDEX (RSI)

เครื่องมือดัชนีกำลังสัมพัทธ์ RSI : RELATIVE STRENGTH INDEX
RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) โดยใช้ระดับเหนือ 70% บอกภาวะ OVERBOUGHT และระดับต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการแยกทางออก (DIVERGENCE) ระหว่างราคาหุ้นกับ 14 RSI

ดัชนีกำลังสัมพัทธ์ (RSI) คือ การคำนวณหาพละกำลัง ที่ซ่อนตัวอยู่ของตลาดหรือของหุ้นใดหุ้นหนึ่ง (INTERNAL STRENGTH) โดยดูจากอัตราส่วนที่ “แกว่ง” ไปมาอยู่ระหว่างการขึ้นลงโดยคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ และภายใน “เวลา” ที่กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลา 14 วัน เราจึงเรียกว่า 14 RSI

สูตรการคำนวณ 14 RSI

RSI = 100 - 100
1+RS

RS = ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของราคาปิดใน 14 วัน
ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วัน

หรือใช้สูตร

RSI = 100 XU
U+D

U = AVERAGE OF 14 DAY’S UP CLOSES
(ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นของราคาปิดใน 14 วัน)
D = AVERAGE OF 14 DAY’S DOWN CLOSES
(ค่าเฉลี่ยของจำนวนที่เปลี่ยนแปลงลดลงของราคาปิดใน 14 วัน)

ระดับซื้อมากเกินไปและขายมากเกินไป (OVERBOUGHT & OVERSOLD)

ระดับ “การซื้อมากเกินไป” ของ 14 RSI อยู่ที่บริเวณระดับสูงเกิน 70% ส่วนระดับที่มีการขายมากเกินไปอยู่ต่ำกว่าบริเวณ 30% และมีกฎว่าถ้าเส้น 14 RSI ลดต่ำลงมามากเท่าใดจะทำให้เกิดภาวะ OVERSOLD ซึ่งโอกาสที่ราคาหุ้นจะตีกลับขึ้นไปในลักษณะการ “ปรับตัวทางเทคนิค” มีอยู่สูง ในทางกลับกัน ถ้าเส้น 14 RSI วิ่งสูงขึ้นจนเข้าไปในเขต OVERBOUGHT แล้ว โอกาสที่ราคาหุ้นจะมีการปรับตัวลงก็มีเช่นเดียวกัน

การใช้ 14 RSI ในการวิเคราะห์แผนภูมิราคามี 5 วิธี

             1. ดูยอด (TOP) และฐาน (BOTTOM) มักจะเกิดยอดเหนือเส้น 70 และเกิดฐานใต้เส้น 30 โดยปรากฏยอดและฐานให้เห็นก่อนตลาด
             2. ใช้ดูรูปแบบซึ่งจะใช้ดูเช่นเดียวกับรูปแบบที่เกิดในแผนภูมิราคา แต่จะให้ความสำคัญกับรูปแบบ HEAD & SHOULDERS ; DOUBLE TOPS & DOUBLE BOTTOMS ในลักษณะเป็นสัญญาณเตือนว่าราคาหุ้นจะมีการเปลี่ยนทิศทาง โดยเฉพาะถ้ารูปแบบนั้นเกิดขึ้นในบริเวณเขต OVERBOUGHT หรือ OVERSOLD
           3. ดูการเหวี่ยงตัวของ 14 RSI ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย (FAILURE SWING) โดยการตวัดกลับครั้งต่อไปไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในบริเวณเขต OVERBOUGHT หรือ OVERSOLD
TOP FAILURE SWING เกิดขึ้นเมื่อยอดแหลมของ RSI อยู่เหนือเส้น 70 (A) และยอดสูงใหม่ © อยู่ต่ำกว่ายอดสูงเก่า (A) โดย TOP FAILURE SWING จะสมบูรณ์ เมื่อเส้น RSI เคลื่อนที่จากจุดยอด © ลงต่ำกว่าจุดต่ำสุด (B) ทีอยู่ระหว่างยอดสูงทั้งสอง (A และ C)

สัญญาณการขายจะมีอยู่ 3 ช่วง

    เมื่อเส้น RSI อยู่เหนือเส้น 70 ที่ยอดสูง
    เมื่อเส้น RSI ไม่ทะลุเส้นต้าน
    เมื่อเส้น RSI ทะลุเส้นหนุน
โดยทั่วไปแล้วสัญญาณขายตามข้อ 3. จะมีความแม่นยำสูงสุด

BOTTOM FAILURE SWING เกิดขึ้นเมื่อจุดฐานของ RSI อยู่ต่ำกว่าเส้น 30  และจุดฐานใหม่ อยู่สูงกว่าจุดฐานเก่า โดย BOTTOM FAILURE SWING จะสมบูรณ์เมื่อเส้น RSI เคลื่อนที่จากจุดฐาน ขึ้นสูงกว่าจุดสูงสุด ที่อยู่ระหว่างจุดฐานทั้งสอง

สัญญาณการซื้อจะมีอยู่ 3 ช่วง

เมื่อเส้น RSI อยู่ต่ำกว่าเส้น 30 ที่จุดฐาน (A)
เมื่อเส้น RSI ไม่ทะลุเส้นหนุน (AC)
เมื่อเส้น RSI ทะลุเส้นต้าน (B)
โดยทั่วไปแล้วสัญญาณซื้อตามข้อ 3. จะมีความแม่นยำสูงสุด
           4. การดูแนวหนุนและแนวต้าน บางครั้ง RSI จะแสดงระดับของแรงหนุน-แรงต้านได้ชัดเจนกว่าแผนภูมิราคา โดยการใช้เครื่องมือวิเคราะห์แนวโน้ม เช่น TRENDLINES, MOVING AVERAGES
            5. การแยกทางออกจากกันระหว่างแผนภูมิราคากับ RSI

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น